รู้ทัน 15 ปัจจัยเสี่ยง ที่ควรรู้ไว้เพื่อลดโอกาสป่วย ‘โรคอัลไซเมอร์’

บุพการีที่เคารพ พูดคุยกับ ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ลูก ๆ หรือผู้สูงวัยหลายคนรู้อยู่แล้วว่าอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่หากเป็นแล้วจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจกับผู้ป่วยและคนดูแล หากเป็นแล้วโรคนี้ก็ยังเป็นโรคที่รักษาไม่หายทำได้พียงดูแลไม่ให้อาการถดถอยลงเท่านั้น มิหนำซ้ำบางคนมีพันธุกรรมเสี่ยงติดตัวมาอีกโอกาสที่จะต้องเผชิญกับโรคนี้ก็ยิ่งเพิ่มขึ้น แต่หากจะมานั่งกลัวอย่างเดียวก็คงไม่ดี หากตอนนี้หลายคนยังอายุไม่มาก หรือพ่อแม่ที่บ้านยังไม่มีอาการเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์มาดู 15 ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องดูแลและจัดการให้ดี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ และยังช่วยทำให้สมองเสื่อมช้าลงอีกด้วย

แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
◾ส่วนที่ 1 พยายาม ลด ละ เลิก 5 ข้อนี้ คือ เลิกอ้วน พยายามควบคุมการอ้วนลงพุง เพราะไขมันส่วนเกินนั้นมีโอกาสไปสะสมที่หลอดเลือดได้ เลิกหรือลดบุหรี่ เหล้า เศร้า เซ็ง และระวังอุบัติเหตุที่ส่งผลถึงสมอง ไม่ประมาทในทุก ๆ การใช้ชีวิต
◾ส่วนที่ 2 จัดการกับโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำเกิดโรคหัวใจ คือ ควบคุมความดัน เบาหวาน ไขมัน ดูแลการได้ยินที่อาจเสื่อมลง ระวังการใช้ยาบางตัวที่มีผลทำให้สารสื่อประสาททำงานได้ไม่สมบูรณ์
◾ส่วนที่ 3 การใช้ชีวิต เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด คือ การรู้จักกินอย่างเหมาะสม อย่าลืมทานโปรตีนให้เพียงพอ นอนให้มีคุณภาพ หลับอย่างน้อย 5 ชม./วัน และระวังภาวะหยุดหายใจระหว่างนอน พาตัวเองออกไปมีสังคมที่ได้มีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น สุดท้ายคือการมีกิจกรรมทางกาย และกิจกรรมทางสมองที่หลากหลายไม่จำเจ”
“กิจกรรมทางสมองเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำและเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง อาทิเช่น ถ้าพ่อเป็นหนอนหนังสือ วัน ๆ เอาแต่อ่านหนังสือ แต่จะดีกว่าถ้าพ่อออกไปทำอย่างอื่นบ้างไม่ว่าจะเล่นเกม ออกไปร้องเพลง ทำสวน เพราะหากวันหนึ่งสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอ่านเสียหายไปชีวิตที่มีเคยมีความสุขกับการอ่านก็จะขาดหายไป
“ทุกคนควรมีงานอดิเรกที่สอง ที่สาม ที่ทำให้เรามีความสุขอื่น ๆ เพื่อมาทดแทนสิ่งที่ขาดหายไป หากคุณต้องเผชิญกับโรคนี้ขึ้นมาจริง ๆ การมีกิจกรรมทำหลากหลายยังช่วยให้สมองเสื่อมช้าลงอีกด้วย กิจกรรมทางสมองเป็นสิ่งที่ต้องบริหารจัดการให้ดี อย่าคิดว่าเราเก่งแล้วในสิ่งที่ถนัด ไม่ต้องทำอย่างอื่นแล้วก็ได้ เพราะวันที่คุณต้องเผชิญกับโรคสมองเสื่อม ทักษะการทำงานที่เคยทำได้นี่แหละที่จะเสียไปก่อนใคร ดังนั้นหากวันนี้ยังมีเวลาเริ่มต้นออกไปเพิ่มกิจกรรมทางสมองที่หลากหลาย และควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ให้ดีก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้”

ติดตามข้อมูลการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ CaregiverThai.com

Credits

Author

ถึงจะต่างวัยแต่ก็
อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ